เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 8 : นักเรียนเข้าใจ สามารถปฏิบัติและถ่ายทอดการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีวิจารณญาณ
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
8

29 มิ.. -3 .ค.
2558
โจทย์ : การประหยัดและการอนุรักษ์พลังงาน
Key  Questions :
- นักเรียนจะมีวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
- นักเรียนจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจและตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
- ถ้าเราไม่ถ่ายทอดด้วยตัวหนังสือหรือรูปภาพ นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานอย่างไรได้อีกบ้าง
?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- Wall  Thinking  ชิ้นงาน บท /Story Broad ละคร ข้อความ/คำขวัญ
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน, การแสดงละคร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)   
- ผู้รับชม (พี่ๆ น้องๆ และคุณครูในโรงเรียน)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - สารคดี/หนังสั้นเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะมีวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-4 คน
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ให้ได้มากและหลากหลายวิธีที่สุด ในเวลา 4 นาที
- นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ให้ได้มากและหลากหลายวิธีที่สุด ภายในเวลา 4 นาที
เชื่อม :
- นักเรียนจัดหมวดหมู่ของการประหยัดและการอนุรักษ์พลังงานแต่ละประเภทที่นักเรียนคิดว่าสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็น ผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 

อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจและตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
- ครูนักเรียนดูสารคดีและหนังสั้นที่เกี่ยวกับการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด Round Robin 
- ครูและนักเรียนพูดคุยกันหลังจากการชมสารคดีและละครจบลง
ชง :
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “ถ้าเราไม่ถ่ายทอดด้วยตัวหนังสือหรือรูปภาพ นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานอย่างไรได้อีกบ้าง?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันเสนอและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ครูถามไป
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้เขียนบท/Story Broad ละครที่จะใช้ในการแสดงถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
ใช้ :
- นักเรียนแยกย้ายกันออกไปเขียนบทตามจินตนาการ
- นักเรียนฝึกซ้อมละครตามบทบาทสมมติที่ได้รับ ภายในกลุ่มของตนเอง

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “ละครของนักเรียนมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง และเกิดปัญหาและอุปสรรคหรือไม่ อย่างไร นักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?”          
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนนำปัญหาและวิธีแก้ไขที่นักเรียนได้เสนอไปปรับใช้ในการซ้อมอีกครั้ง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกย้ายกันไปซ้อมต่อ
เชื่อม :
ท้ายชั่วโมงครูให้นักเรียนกลับมาพูดคุยกันในสิ่งที่เกิดขึ้น และดูความพร้อมของละครแต่ละกลุ่ม

พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “พรุ่งนี้จะเป็นวันที่พวกเราจะได้แสดงจริงแล้ว นักเรียนมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทบทวนบทละครที่ตนเองจะได้แสดง
ใช้ :
นักเรียนซ้อมละครตามบทบาทสมมติที่ได้รับผิดชอบ ให้ครูและเพื่อนๆ ได้ชม (ซ้อมใหญ่)
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยและสะท้อน กับละครที่ได้ซ้อมไปในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดความพร้อมในวันแสดงจริง (แสดงวันศุกร์)

ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “หลังจากที่นักเรียนได้แสดงละครผ่านไปในตอนเช้า นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงรู้สึกเช่นนั้น?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นจากสิ่งที่ครูถาม
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ถ้านักเรียนอยากให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ชมละครของเรา ได้เกิดการตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานนักเรียนจะทำอย่างไร ?
เชื่อม :
- นักเรียนช่วยกันระดมความคิดเห็นร่วมกันกับคุณครู
- ครูยกตัวอย่างข้อความ หรือ คำขวัญ ที่มีเนื้อหาที่ให้เกิดการโน้มน้าวใจในการเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ใช้ :
นักเรียนออกแบบข้อความหรือคำขวัญที่มีเนื้อหาที่ให้เกิดการโน้มน้าวใจในการเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ลงบนกระดาษ 100 ปอนด์ ขนาด 1/3 ของแผ่น ที่ครูแจกให้
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอชิ้นงานที่ตนเองได้ออกแบบ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

 ภาระงาน
- ระดมความคิดวิธีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- ซ้อมละคร
- นำเสนอชิ้นงาน

ชิ้นงาน
- วิธีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- บท/ Story Broad ละคร
- ข้อความ/คำขวัญรณรงค์การประหยัดพลังงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8

ความรู้
นักเรียนเข้าใจ สามารถปฏิบัติและถ่ายทอดการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเข้าใจให้ผู้อื่นได้เข้าใจและตระหนัก
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการชัพลังงานทดแทนได้อย่างมีวิจารณญาณ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 กรกฎาคม 2558 เวลา 16:30

    บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ปัญหาที่พบในชั้นเรียน ครูให้การบ้านไปตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้วในการเขียนวิธีการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์ธรรมชาติ มา 10 - 15 ข้อ แต่ก็มีบางคน (5 คน) ไม่ได้ทำมา ครูเลยพูดคุยเรื่องความรับผิดชอบต่องานที่ทำ แล้วให้ทำในชั่วโมงให้เสร็จ และในสัปดาห์นี้ให้พี่ๆป.5 ได้นำความรู้ในการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้เข้าใจ ซึ่งครูได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ปัญหาที่เจอในการฝึกซ้อม เช่น เล่นจนเกินเลยเวลาที่กำหนด ทำให้เนื้อเรื่องที่จะต้องแสดงซ้อมไม่จบ ทำให้ละครไม่ต่อเนื่อง การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับวัย ครูจึงแนะนำและให้กลับไปซ้อมเพิ่มเติมใหม่ เพื่อละครของพี่ๆจะได้เป็นละครที่สามารถถ่ายทอดให้กับน้องๆได้ชมอย่างสร้างสรรค์ เขาก็ทำออกมาได้ดี

    ตอบลบ