เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 7 : นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
7

22 - 26
มิ.ย.
2558
โจทย์ : พลังงานชีวมวลจากเศษวัสดุธรรมชาติ (ต่อ)
Key  Questions :
- นักเรียนจะมีวิธีการใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติอย่างไรให้ได้ความร้อนที่นานในการหุงต้ม และก่อมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด?
- จากอุปกรณ์ที่เราเตรียม นักเรียนคิดว่า นักเรียนจะทำเตาชีวมวลออกมาในรูปแบบใดได้บ้าง?
- นักเรียนจะนำเชื้อเพลิงชนิดใดมาทำการหุงต้ม เพื่อให้ความร้อนนานและก่อให้เกิดมลภาวะน้อยที่สุด
?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
- Card and Chart สรุปความเข้าใจหลังการปฏิบัติ
- Wall  Thinking  ชิ้นงาน สรุปผลการลงมือปฏิบัติ
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)   
- ผู้ปกครองอาสา
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- วัสดุธรรมชาติที่มีในโรงเรียนที่สามารถทำเชื้อเพลิงได้
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “จากอุปกรณ์ที่เราเตรียม นักเรียนคิดว่า นักเรียนจะทำเตาชีวมวลออกมาในรูปแบบใดได้บ้าง?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- นักเรียนออกแบบและวาดภาพเตาชีวมวล (ครั้งที่2) แล้วนำมาเปรียบเทียบกับครั้งที่ 1
ใช้ :
ครูและนักเรียนลงมือทำเตาชีวมวล (อาจจะใช้เวลาวันเดียวไม่พอ ต้องทำต่อในวันอังคาร)

อังคาร (2 ชั่วโมง )
ใช้ :
ครูและนักเรียนลงมือปฏิบัติทำเตาชีวมวล จากวัสดุที่หาได้ง่าย (ที่นักเรียนได้เตรียมมา) ต่อให้สำเร็จ
ชง :
เมื่อเรามีเตาแล้ว ขั้นตอนต่อไป เราต้องหาเชื้อเพลิง ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำเชื้อเพลิงชนิดใดมาทำการหุงต้ม เพื่อให้ความร้อนนานและก่อให้เกิดมลภาวะน้อยที่สุด?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ภายในกลุ่มของตนเอง
ใช้ :
นักเรียนลงมือหาเศษวัสดุจากธรรมชาติภายในบริเวณโรงเรียน เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม
เชื่อม :
วางแผนและแบ่งหน้าที่เตรียมวัสดุจากธรรมชาติที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิง (การบ้าน)

การบ้าน : ให้นักเรียนนำเชื้อเพลิงที่คิดว่าจะให้พลังงานความร้อนในการหุงต้มนาน มาจากบ้าน

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนคิดว่า จะสามารถนำวัสดุธรรมชาติที่ใกล้ตัวเราอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับเตาชีวมวล ที่จะให้ความร้อนนานและก่อให้เกิดมลภาวะน้อยที่สุด?”          
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
ใช้ :
- นักเรียนลงมือปฏิบัติ  และหาเชื้อเพลิงเพิ่มเติม จากที่มีในบริเวณโรงเรียน
- นักเรียนจดบันทึก สรุปความเข้าใจ ลงในสมุดของตนเอง
เชื่อม :
วางแผนและแบ่งหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบเชื้อเพลิง (การบ้าน)

การบ้าน : ครูให้นักเรียนนำเอาอุปกณ์ในการทดสอบมาด้วย (ทำไข่ต้ม และไข่เจียว) มาจากบ้าน

พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่า วัสดุธรรมชาติที่นักเรียนนำมาใช้กับเตาชีวมวลที่เราทำจะให้ความร้อนนานและก่อให้เกิดมลภาวะน้อยที่สุด?”          
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
ใช้ :
- นักเรียนลงมือปฏิบัติ  ด้วยการทดสอบการใช้เชื้อเพลิงที่นักเรียนเตรียมไว้กับเตาชีวมวลที่นักเรียนได้ทำไว้ก่อนหน้า ด้วยการต้มไข่ หรือเจียวไข่ แล้วแต่นักเรียนจะออกแบบ
- นักเรียนจดบันทึก สรุปความเข้าใจ เป็นชาร์ตความรู้ความเข้าใจ
เชื่อม :
- เลือกเมนูอาหารที่จะทำในวันศุกร์
- วางแผนและแบ่งหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำอาหาร(การบ้าน)

การบ้าน : ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหารโดยใช้เตาชีวมวล และห่อข้าว

ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- วันนี้คุณครูจะให้ผู้ปกครองมาทดลองใช้เตาชีวมวลร่มกับพี่ๆ ป.5  ว่าจะได้ผลออกมาเช่นไร
- ผู้ปกครองร่วมอาสา ในการเรียนรู้และพาพี่ๆ ป.5 ทำอาหารโดยใช้เชื้อเพลิงและเตาชีวมวลการการประกอบอาหาร
ใช้ :
- นักเรียนร่วมกับผู้ปกครองอาสา ทำอาหารโดยใช้เชื้อเพลิงและเตาชีวมวลที่นักเรียนจัดทำและจัดหาเอง
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย



 ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์
- หาวัสดุธรรมชาติที่มีในโรงเรียนและที่บ้านที่สามารถทำเชื้อเพลิงได้
- ทำเตาชีวมวล
- ทดสอบการให้พลังงานความร้อนของเชื้อเพลิง

ชิ้นงาน
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่องเตาชีวมวล
- เตาชีวมวล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7

ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการชัพลังงานทดแทนได้อย่างมีวิจารณญาณ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตาชีวมวล โดยครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและเตรียมอุปกรณ์ในการทำเตาชีวมวลมาจากบ้าน ซึ่งปัญหาที่พบมีเพียง 2 กลุ่มที่เตรียมอุปกรณ์มา แต่อีก 2 กลุ่มไม่ได้เตรียมมา ครูเลยถามกลับไปเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สุดท้ายก็มีเพื่อน(กลุ่มที่เตรียมมา) อาสาที่จะเอามาให้ในวันพรุ่งนี้ เพราะที่บ้านมีหลายอัน เช่น พี่คิม พี่เอส และพี่เบ็ค ต่างกลุ่มก็ต่างเอามาแบ่งกัน สุดท้ายเมื่ออุปปกรณ์ครบก็ลงมือปฎิบัติ ในการทำจำเป็นที่จะต้องสร้างข้อตกลงกับนักเรียนอย่างเคร่งครัด เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นอุปกณ์ที่มีคม และเป็นอุกณณ์ที่ใช้ในงานช่าง เช่น มีด ค้อน คีม ตะปู ฯลฯ
    วันที่จะต้องเตรียมวัตถุดิบเพื่อจะนำมาทำอากหารเพื่อทดสอบการใช้เตาชีวมวล เป็นเรื่องธรรมดาที่บางคนบางกลุ่มจะต้องลืมเครื่องปรุงหรืออุปกรณ์บางอย่างบ้าง แต่เนื่องจากมีผู้ปกครองมาร่วมเรียนรู้ในการเป็นผู้ปกครองอาสา จึงมีการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันกับลูกๆ เช่น กลุ่ม 2 จะทำแกงเขียวหวาน แต่ไม่ได้เอาพริกแกงเขียวหวานมา ผู้ปกครองก็พยายามแสดงความคิดและช่วยทำจนออกมาเป็นแกงข่าไก่ กลุ่ม 4 จะทำส้มตำ แต่ไม่ได้เตรียมปลาร้ามา ผู้ปกครองจึงแสดงทำตำไทยแทน แต่ด้วยรสชาติตำไทยอาจจะไม่ถึงพริกถึงขิง ผู้ปกครองก็เลยอาสาออกไปซื้อปลาร้ามาให้ และมีกลุ่ม 2 ที่เตา(ส่วนที่เป็นที่ใส่เชื้อเพลิง) หลุดล่วงลงไปในปี๊บ ด้วยความร้อนของไฟและพื้นที่ที่แคบของปี๊บ จึงไม่สามารถเอาขึ้นมาได้ ผู้ปกครอวกับนักเรียนก็ร่วมกันแก้ไขปัญหาอยู่นาน แต่ก็ไม่สามารถทำได้ จึงจำเป็นต้องไปใช้เตากลุ่มอื่นแทน ก็ถือเป็นการแบ่งปันกันไปในตัว (ในวิกฤตยังมีโอกาส) ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งผู้ปกครอง นักเรียนและครู

    ตอบลบ