เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 6: นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
6

15 - 19
มิ.ย.
2558
โจทย์ : การผลิตไบโอดีเซจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว(ต่อ)  และพลังงานชีวมวลจากเศษวัสดุธรรมชาติ
Key  Questions :
- นักเรียนจะสามารถนำน้ำมันไบโอดีเซลที่นักเรียนผลิตได้ ไปใช้งานจริงได้อย่างไร?          
- นักเรียนจะมีวิธีการใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติอย่างไรให้ได้ความร้อนที่นานในการหุงต้ม และก่อมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
- Card and Chart สรุปความเข้าใจก่อนการปฏิบัติ
- Wall  Thinking  ชิ้นงาน สรุปผลการลงมือปฏิบัติ
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)   
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - คลิป ความสำคัญของพลังงานชีวมวล
- ห้องสมุด
- Internet / Computer
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนของน้ำมันหรือไม่ อย่างไร?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- นักเรียนร่วมกันสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับน้ำมันที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ใช้ :
นักเรียนนำน้ำมันที่มีตะกอนไปกรองใหม่อีก 1 รอบ พร้อมลงมือต้มน้ำมัน และผสมสารตั้งต้นในการทำ           ไบโอดีเซล
อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนของน้ำมันหรือไม่ อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการสังเกตน้ำมันที่ผสมสารตั้งต้นของกลุ่มตนเอง
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในขั้นตอนต่อไปคือ การล้างน้ำมันไบโอดีเซลด้วยน้ำเปล่า เพื่อน้ำมันไบโอดีเซลมีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ก่อนการนำไปใช้งาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำน้ำมันไบโอดีเซลของกลุ่มตนเอง ไปผ่านกระบวนการล้างไบโอดีเซล

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนจะสามารถนำน้ำมันไบโอดีเซลที่นักเรียนผลิตได้ ไปใช้งานจริงได้อย่างไร?”          
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
ใช้ :
- นักเรียนนำน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้ไปผ่านกระบวนการสุดท้ายก่อนการนำไปใช้ (ตามที่นักเรียนได้หาข้อมูลมา) กับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น เครื่องตัดหญ้า รถไถนาเดินตาม เป็นต้น
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะมีวิธีการใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติอย่างไรให้ได้ความร้อนที่นานในการหุงต้ม และก่อมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด
ใช้ :
นักเรียนออกแบบเตาชีวมวลตามโจทย์ที่ครูให้ ตามจินตนาการของตนเอง

ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )

ชง :
ครูเปิดคลิป ความสำคัญของแก๊สชีวภาพ ให้นักเรียนฟังและชม
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ชมจากคลิปวีดิโอ
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเท่าๆ กัน เพื่อสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นพลังงานชีวมวล จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด Internet ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนสรุปความเข้าใจผ่าน  Mind Mapping
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอความเข้าใจของกลุ่มตนเอง ให้เพื่อนๆ และคุณครู ร่วมกันสะท้อนแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Show and Share  
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

การบ้าน : ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์เพื่อมาทำเตา   ชีวมวล เช่น ปี๊บ ถังสี (ขนาดเล็ก) เป็นต้น

 ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์
- ลงมือทำน้ำมัน            ไบโอดีเซล
- นำเสนอการออกแบบเตา                 ชีวมวล

ชิ้นงาน
- ชาร์ต สรุปความเข้าใจก่อนการปฏิบัติ
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่อง    ไบโอดีเซล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6

ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการชัพลังงานทดแทนได้อย่างมีวิจารณญาณ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน:
    ในสัปดาห์นี้การเรียนการสอน ถ้าเป็นไปตามแผนพี่ๆจะได้เริ่มเรียนรู้เรื่องพลังงานเตาชีวมวล แต่เนื่องจากการทำน้ำมันไบโอดีเซลที่ยังไม่สำเร็จเลยจำเป็นต้องใช้เวลาทั้งสัปดาห์ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับแผนการสอนเพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นในการออกแบบการเรียนรู้
    ในการต้มน้ำมันพืชและผสมสารตั้งต้นเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ทั้งครูและนักเรียนได้ลองผิดลองถูกมาด้วยกันทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็ไม่ประสบผมสำเร็จเลย จากกลุ่มละ 4 ลิตร (7 กลุ่ม) ได้น้ำมันไบโอดีเซลที่แยกชั้นเป็นกลรเซอร์ลีนเพียง 1 ลิตรเท่านั้น วันศุกร์ที่ผ่านมาครูและนักเรียนจึงได้เอาเรื่องดังกล่าวมาพูดคุยกันภายในชั้นเรียน ว่า พี่ๆอยากจะทำต่อหรือไม่? บางกลุ่มก็บอกว่าไม่อยยากทำ(น้ำมันพชที่เตรียมมาหมดแล้ว) บางคนก็บอกว่าอยากจะทำ ครูจึงเสนอแนะและเคารพสิทธิ์ของคนส่วนใหญ่ที่บอกว่าจะไม่ทำต่อ และจะเอา 1 ลิตรที่ได้มาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เห็นกระบวนการการผลิต จึงได้ข้อสรุปดังกล่าว

    ตอบลบ