เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3: นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
3

25 – 29
พ.ค. 2558
โจทย์ : แหล่งพลังงานทดแทนจากไบโอดีเซล
Key  Questions :
- สิ่งที่นักเรียนไปสำรวจมา มีสิ่งใดบ้างในชุมนของเราที่ใช้พลังงานทดแทน?
- เราสามารถผลิตน้ำมันใช้เองได้หรือไม่ อย่างไร?
- นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ “ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช และรู้สึกอย่างไร นักเรียนเคยเห็นที่ไหน?
- ก่อนที่เราจะเริ่มดำเนินการผลิตไบโอดีเซล เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดิโอเรื่องพลังงานทดแทน
- Card and Chart สรุปความเข้าใจ
- Wall  Thinking  ชิ้นงาน
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/ กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- วิทยากร
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- แหล่งข้อมูลในชุมชนของนักเรียน
- ห้องสมุด
- Internet
- บรรยากาศภายใน/ภายนอกชั้นเรียน


จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน             
- ครูถามคำถามกระตุ้นคิด “สิ่งที่นักเรียนไปสำรวจมา มีสิ่งใดบ้างในชุมนของเราที่ใช้พลังงานทดแทน?
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอการสำรวจแหล่งพลังงานในชุมชนของตนเองผ่านเครื่องมือคิด Show and Share  
ใช้ :
นักเรียนสรุปแหล่งพลังงานในชุมชนของตนที่สำรวจมาลงกระดาษ A4 พร้อมวาดภาพประกอบ
อังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- เราสามารถผลิตน้ำมันใช้เองได้หรือไม่ อย่างไร?
- ดูคลิปเรื่อง “ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ “ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช และรู้สึกอย่างไร นักเรียนเคยเห็นที่ไหน?
เชื่อม :
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ“ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชโดยผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำไปโอดีเซลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด Internet ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้ดูจากคลิปลงในชิ้นงานผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง
พุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “เราจะสามารถผลิตไบโอดีเซลได้อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
ชง :
ครูเชิญวิทยากร คือ “คุณครูยิ้ม” มาถ่ายทอดความรู้และเทคนิควิธีการการทำน้ำมันไบโอดีเซล ให้นักเรียนเกิดแรงกระตุ้นความสนใจ
เชื่อม :
วิทยากร ครูและนักเรียน ร่วมกันพูดคุย แลกเปลี่ยน ตอบคำถามสิ่งที่นักเรียนสงสัย เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไบโอดีเซล
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากครูยิ้มลงในสมุด
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ก่อนที่เราจะเริ่มดำเนินการผลิตไบโอดีเซล เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- ครูและนักเรียนร่วมกันเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการผลิตไบโอดีเซล เช่น ทำความสะอาด ตรวจสอบสภาพการใช้งาน ฯลฯ
ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยการเปิดคลิปขั้นตอนของการผลิต    ไบโอดีเซลให้นักเรียนดู
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสะท้อนความคิดร่วมกันหลังจากชมคลิปขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล
ใช้ :
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เกี่ยวกับคลิปวีดีโอพลังงานทดแทน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากครูยิ้ม
- นำเสนอชาร์ตความเข้าใจ

ชิ้นงาน
- สรุปชาร์ตความเข้าใจจากข้อมูลด้านพลังงานที่สืบค้น
- สรุปแหล่งพลังงานในชุมชนของตนที่สำรวจมาลงกระดาษ A4
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3

ความรู้
นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถออกแบบวางแผนกระบวนผลิตไบโอดีเซลได้
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
- การวางแผนการค้นคว้าได้อย่างเป็นระบบ
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- คิดจินตนาการเชื่อมโยงและแยกแยะข้อมูลจากสิ่งที่ได้พบเห็นและค้นคว้า
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตาม เป้าหมาย
- มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน
- รู้เวลาและหน้าที่ของตน


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับเนื้อหาของพลังงาน และแก้ไขปฏิทินการเรียนรู้เพิ่มเติม เนื่องด้วยชิ้นงานที่ทำมาในสัปดาห์ที่แล้ว ทำด้วยเวลาที่เร่งรีบ มีบางคนที่บริหารเวลาได้ดีและสามารถส่งชิ้นงานได้ทันตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ แต่บางคนก็ไม่สามารถบริหารเวลาและชอบเล่นระหว่างการให้ทำงาน จึงทำให้ส่งงานช้า คุณภาพที่ออกมาค่อยข้างน้อย ครูจึงต้องสร้างแรงชื่นชม และให้กลับไปเพิ่มเติมชิ้นงาน
    ในการแบ่งกลุ่มหาข้อมูลเพื่อนำเสนอหน้าชั้น ปัญหาที่พบและไม่สามารถแก้ไขได้ คือ ปัญหาเรื่องของระบบสารสนเทศ ที่คอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้บางเครื่อง จึงไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงทำให้เวลาในการหาข้อมูลเพิ่มออกไปอีก เพื่อรอให้เพื่อนใช้ให้เสร็จก่อน (มีบางกลุ่มที่ได้ใช้คอมฯของครู) การเป็นผู้ฟังที่ดีขณะเพื่อนำเสนองาน ยังต้องสร้างข้อตกลงกันเพิ่มเติม

    ตอบลบ