เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week9


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 9 : นักเรียนเข้าใจ รู้คุณค่าและประโยชน์ของพลังงาน รวมทั้งสามารถเลือกใช้พลังงานอย่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
9

6 - 10
ก.ค.
2558
โจทย์ : ประโยชน์และผลกระทบของพลังงาน
Key  Questions :
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจในหน่วยที่เราเรียนให้ผู้อื่นได้เข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าพลังงานมีประโยชน์และโทษอย่างไรต่อชีวิตของเรา?
-
นักเรียนคิดว่า วิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสามารถทำได้อย่างไรบ้าง?
- นักเรียนคิดว่า เราจะสามารถหยุดภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรบ้าง
?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
- Card and Chart สรุปความเข้าใจผลกระทบจากการใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง
- Wall  Thinking  ชิ้นงาน หนังสือนิทานเล่มเล็ก
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)   

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กระดาษ 100 ปอนด์
- ตัวอย่างหนังสือนิทานเล่มเล็ก (ของพี่ ป.6 รุ่นปีการศึกษา 2557)
- คลิปวิดีโอรายการ “เรื่องยิ่งใหญ่ จากหัวใจเล็ก” (ช่อง Thai PBS) ตอน ตะกอนแห่งแม่น้ำยม
- คลิปวิดีโอ ภัยพิบัติจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจในหน่วยที่เราเรียนให้ผู้อื่นได้เข้าใจได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนตัดกระดาษ 100 ปอนด์ เพื่อทำนิทาน(เล่มเล็ก) เพื่อเป็นการสรุปความเข้าใจในหน่วย วิกฤตการณ์พลังงานโลก ของนักเรียนเอง และถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจผ่านการอ่านหนังสือการ์ตูนที่นักเรียนได้ทำเอง (นิทานระยะยาว กำหนดส่ง สัปดาห์ที่ 10)
ใช้ :
นักเรียนลงมือตัดกระดาษ ออกแบบเนื้อเรื่อง และทำหนังสือนิทาน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียนใน Quarter นี้
อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูทบทวนเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาในชั่วโมงที่ผ่านมา
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าพลังงานมีประโยชน์และโทษอย่างไรต่อชีวิตของเรา?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 3-4 คน เพื่อให้นักเรียนนำสมุดที่ได้ทำการบ้านเกี่ยวโทษและประโยชน์ของพลังงาน มาแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม แล้วสรุปลงในกระดาษ A3 พร้อมวาดภาพ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอประโยชน์และโทษจากการใช้พลังงานของกลุ่มตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนคิดว่า วิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสามารถทำได้อย่างไรบ้าง?”          
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนได้ชมคลิป รายการ “เรื่องยิ่งใหญ่ จากหัวใจเล็ก” (ช่อง Thai PBS) ตอน ตะกอนแห่งแม่น้ำ-ยม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเยาวชนกลุ่มเล็กๆ ที่รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนของเขา จากการสร้างเขื่อน ในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมตอนล่าง
- ครูและนักเรียน ร่วมกันสะท้อนพูดคุยจากสิ่งที่ได้ชมจากคลิปดังกล่าว โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง? เด็กในคลิปเขากำลังทำอะไร? สิ่งที่เขาทำเกี่ยวข้องอย่างไรกับนักเรียน?  ได้เรียนรู้อะไรจากคลิปดังกล่าว?
ใช้ :
นักเรียนลงมือทำการ์ตูนช่อง ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน


พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนคิดว่า เราจะสามารถหยุดภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรบ้าง?           เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนชมคลิปวิดีโอเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือโทษที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
- ครูและนักเรียนสะท้อนและพูดคุยเกี่ยวกับคลิปวิดีโอที่ชมจบลงไป
ใช้ :
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นใกล้ตัว
- นักเรียนทำชาร์ตความรู้ และนำเสนอแลกเปลี่ยนกันหน้าชั้นเรียน

การบ้าน : ให้นักเรียนไปสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในชุมชนของนักเรียนเอง

ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูสอบถามความคืบหน้าของนิทานเล่มเล็ก
เชื่อม :
ครูให้เวลานักเรียนเพื่อเพิ่มเติมชิ้นงานของตนเอง และตรวจสอบเนื้อหาของเนื้อเรื่องที่จะถ่ายทอดความเข้าใจออกไป
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


 ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และโทษจากการใช้พลังงาน
- เตรียมกระดาษ 100 ปอนด์ เพื่อทำนิทานเล่มเล็ก
- ชมคลิปวิดีโอเกี่ยววิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภัยพิบัติจากการการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง

ชิ้นงาน
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
- นิทานเล่มเล็กที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยที่เรียนใน Quarter นี้
- การ์ตูนช่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9

ความรู้
        นักเรียนเข้าใจ รู้คุณค่าและประโยชน์ของพลังงาน รวมทั้งสามารถเลือกใช้พลังงานอย่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการใช้ พลังงานได้อย่างมีวิจารณญาณ และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00

    บันทึกการสอน :
    สัปดาห์ที่ 9 เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับโทษและประโยชน์จากการใช้พลังงาน จะให้นักเรียนทำสมุดนิทานเล่มเล็กเอง แต่ปัญหาคือการตัดกระดาษที่ไม่ได้ขนาดอาจจะให้การเข้าเล่มเกิดปัญหาได้ การเขียนมุมมองต่อการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เกิดจากการที่บาคนที่ฟังไม่เป็น (ขณะที่ครูอธิบายยังพูดหรือเล่นกัน) จึงเกิดคำถามภายหลังว่าทำอย่างไร? เมื่อทำออกมาแล้วประเด็นสำคัญๆต่างๆขาดหายไป และอุปกรณ์ ICT เพื่อจะใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน i-pad บางเครื่องไม่สามารถเข้าระบบอินเตอร์เนต (WIFI) ได้ ครูเลยแก้ปัญหาด้วยการให้ใช้คอมพิวเตอร์ (โน๊ตบุ๊ค)ของครูแทนในการหาข้อมูลเพื่อนำเสนอ

    ตอบลบ