เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week5


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 5: นักเรียนสามารถออกแบบและวางแผนกระบวนการผลิตพลังงานชีวมวลจากทรัพยากรใกล้ตัวได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
5

8 - 12
มิ.ย.
2558
โจทย์ : การผลิตพลังงานชีวภาพจากมูลสัตว์
Key  Questions :
- ถ้าไม่มีไม้ขีดไฟ ไม่มีแก๊ส ไม่มีฟืน นักเรียนจะสามารถต้มไข่ให้สุกได้อย่างไร?
-
นักเรียนจะสามารถหาความรู้เรื่องพลังงานชีวภาพได้จากที่ไหนบ้าง?
- เราจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง ก่อนการลงมือผลิตแก๊สชีวภาพ
?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจก่อนการปฏิบัติ
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)   
- วิทยากร
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน-
 - คลิป ความสำคัญของแก๊สชีวภาพ
- ห้องสมุด
- Internet / Computer
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “ถ้าไม่มีไม้ขีดไฟ ไม่มีแก๊ส ไม่มีฟืน นักเรียนจะสามารถต้มไข่ให้สุกได้อย่างไร?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำไข่ให้สุก
ใช้ :
ครูให้นักเรียนทดลองการทำให้สุกโดยที่ไม่ให้ใช้แก๊ส ไม่มีฟืน ไม่มีหม้อหรือกระทะไฟฟ้า
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาสรุปผลการทดลอง
อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูเปิดคลิป ความสำคัญของแก๊สชีวภาพ ให้นักเรียนฟังและชม
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ชมจากคลิปวีดิโอ
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเท่าๆ กัน เพื่อสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นแก๊สชีวภาพ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด Internet ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนสรุปความเข้าใจผ่าน  Mind Mapping
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอความเข้าใจของกลุ่มตนเอง ให้เพื่อนๆ และคุณครู ร่วมกันสะท้อนแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Show and Share  

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนจะสามารถหาความรู้เรื่องพลังงานชีวภาพได้จากที่ไหนบ้าง?”                                                               เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- เชิญวิทยากร คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง มาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตแก๊สชีวภาพ
- วิทยากร ครูและนักเรียน ร่วมกันแลกเปลี่ยน สะท้อน ถาม-ตอบ ในประเด็นแก๊สชีวภาพ
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดของตนเอง
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “เราจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง ก่อนการลงมือผลิตแก๊สชีวภาพ?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลและนำเสนอข้อมูล แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการผลิตแก๊สชีวภาพ
ใช้ :                                                                                                    นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเส้นทางสายมรณะ ในรูปแบบของการ์ตูนช่อง                                                                                                                    - นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

 ภาระงาน
- การทดลองการทำไข่ให้สุกโดยไม่ใช้แก๊ส ไม่ใช้เตา/กระทะไฟฟ้า
- จัดเตรียมอุปกรณ์

ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจก่อนการปฏิบัติ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลการเลือกใช้พลังงานทดแทนอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการชัพลังงานทดแทนได้อย่างมีวิจารณญาณ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ถ้าโดยปกติแล้วในสัปดาห์นี้จะเป็นการเรียนรู้เรื่องการทำน้ำมันไบโอดีเซลทั้งสัปดาห์ แต่ด้วยมีโปรเจคร่วมคือ พลังงานก๊าซชีวภาพ ที่พี่ป.5 ต้องเรียนรู้เข้ามาร่วมด้วย จึงต้องให้ผู้ปกครองอาสาเข้ามาพาพี่ๆ ทำแบบชุดจำลองพลังงานก๊าซชีวภาพ และพี่ๆ ป.5 ได้เอามูลสัตว์ไปเติมลงในบ่อหมักก๊าซชีภาพของโรงเรียน(ข้างโรงอาหาร) รวมทั้งการทดสอบการใช้แก๊สที่เกิดจากการหมัก จนได้ผลิตภัณฑ์เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม โดยการทดลองการเจียวไข่
    ปัญหาที่พบ ในสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนและเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม การลืมนำอุปกรณ์มาจึงเป็นเรื่องที่ครูต้องรับรู้อยู่เบื้องต้นแล้ว ครูจึงเตรียมอุปกรณ์สำรองไว้ให้เพื่อความสะดวกในการทำงาน ในการนำมูลสัตว์จากคอกสัตว์ไปใส่ในถังหมักนักเรียนค่อยข้างเกิอความรังเกียจต่อมูลสัตว์เหล่า ครูก็พยายามชักจูงด้วยวิธีการต่างๆ ให้เขาลงมาตักและนำำไปใส่ ตอนแรกเหมือนจะไม่มีใครกล้าลงมือ แต่พอเพื่อนของเขาคนหนึ่งทำให้ดูแล้ว คนอื่นๆก็ค่อยๆที่จะทำด้วยกัน

    ตอบลบ