เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week10

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 10: นักเรียนเข้าใจ รู้คุณค่าของพลังงานในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
10

13 - 17
ก.ค.
2558
โจทย์ : พลังงานในอนาคต

Key  Questions :
- นักเรียนคิดว่า พลังงานที่เราใช้ในทุกวันนี้ ในอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร?
- นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจในหน่วย PBL ผ่านสมุดนิทานเล่มเล็ก อย่างไรเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ?
- นักเรียนคิดว่า อนาคตพลังงานจะเป็นอย่างไร
? และนักเรียนสามารถถ่ายทอดความคิดของเองผ่านตัวหนังสือ(การเขียน)แล้วมีวิธีการถ่ายทอดอย่างอื่นอีกหรือไม่?

เครื่องมือคิด :
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
- Card and Chart สรุปความเข้าใจผลกระทบจากการใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง
- Wall  Thinking  ชิ้นงาน หนังสือนิทานเล่มเล็ก
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)   

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กระดาษ 100 ปอนด์
- ตัวอย่างหนังสือนิทานเล่มเล็ก (ของพี่ ป.6 รุ่นปีการศึกษา 2557)
- คลิปวิดีโอรายการ “เรื่องยิ่งใหญ่ จากหัวใจเล็ก” (ช่อง Thai PBS) ตอน ตะกอนแห่งแม่น้ำยม
- คลิปวิดีโอ ภัยพิบัติจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่า พลังงานที่เราใช้ในทุกวันนี้ ในอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนดูคลิปเส้นทางของพลังงานไทยและอนาคตพลังงานไทย
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในคลิปวิดีโอดังกล่าว ที่ได้ชม
ใช้ :
นักเรียนลงมือทำชิ้นงาน เส้นทางและอนาคตของพลังงานไทย ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart

อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูทบทวนเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาในชั่วโมงที่ผ่านมา
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจในหน่วย PBL ผ่านสมุดนิทานเล่มเล็ก อย่างไรเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
ใช้ :
ครูให้นักเรียนเพิ่มเติมชิ้นงาน และประกอบเข้ารูปเล่ม
เชื่อม :
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อให้สืบค้น/ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความท้าทายด้านพลังงานที่มีต่อสังคม
- โดยครูได้ให้หัวข้อและโจทย์ไป กลุ่มละ 1 หัวข้อ ปัญหาที่ชุมชน (กรณีตัวอย่าง) ได้รับผลกระทบต่อการผลิตพลังงาน อาทิ ในพื้นที่จังหวัดเลย จังหวัดกระบี่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดลำปาง
ใช้ :
นักเรียนลงมือทำชิ้นงานของกลุ่มตนเอง

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูทบทวนเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาในชั่วโมงที่ผ่านมา
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นของกลุ่มตนเอง แลกเปลี่ยนกัน 
- ครูและนักเรียน ร่วมกันสะท้อนพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอแนะเพิ่มเติม
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่า อนาคตพลังงานจะเป็นอย่างไร ? และนักเรียนสามารถถ่ายทอดความคิดของเองผ่านตัวหนังสือ(การเขียน)แล้วมีวิธีการถ่ายทอดอย่างอื่นอีกหรือไม่?
 เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
 ใช้ :
นักเรียนลงมือออกแบบภาพวาดพลังงานในอนาคตตามจินตนาการของตนเองลงในกระดาษ A4 ก่อนวาดลงในกระดาษ 100 ปอนด์

พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ติดตามความคืบหน้าชิ้นงานของนักเรียน (ภาพวาด)
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละคนเล่าถึงความคืบหน้า ปัญหา/อุปสรรค และวิธีแก้ไขของตนเอง
ใช้ :
นักเรียนลงมือทำชิ้นงานต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา

ศุกร์ ( 2 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูถามกระตุ้นการคิด “ชิ้นงานที่นักเรียนสร้างสรรค์ ออกมาตามจินตนาการ นักเรียนได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งใด? และต้องการสื่อหรือถ่ายทอดอะไรให้กับผู้อื่น?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนในประเด็นเกี่ยวกับภาพวาดพลังงานในอนาคต
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


 ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นพลังงานในอนาคต
- ออกแบบภาพวาดเกี่ยวกับพลังงานในอนาคต
- นำเสนอ/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงบันดาลใจในภาพวาดพลังงานในอนาคต


ชิ้นงาน
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่อง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างแหล่งพลังงาน
- ภาพวาดพลังงานในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10

ความรู้
        นักเรียนเข้าใจ รู้คุณค่าของพลังงานในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลประเด็นปัญหาพื้นที่ที่ประสบปัญหาในการสร้างแหล่งพลังงานของรัฐได้อย่างมีวิจารณญาณ และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2558 เวลา 15:47

    บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที 10 ก่อนจะมีการสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจจากการที่ได้เรียนมาตลอด Q.1 ในสัปดาห์ที่ 11 ถ้าเป็นไปตามแผนการสอนแล้วสัปดาห์นี้พี่ๆ จะได้วาดภาพพลังงานในอนาคตตามจินตนาการ แต่ด้วยเนื่องจากนัดส่งหนังสือการ์ตูนเล่มเล็กในวันศุกร์ (ตอนเช้าก็ไม่ได้เรียนเพราะ มีกิจกรรมดำนา) จึงได้เพียงแค่ออกแบบร่างภาพลงบนกระดาษ A4 แล้วครูก็ให้เอาไปวาดภาพลงบนกระดาษ 100 ปอนด์เป็นการบ้าน เพื่อนำมาระบายสีที่โรงเรียนในวันจันทร์ สังปดาห์ที่ 11
    .....ส่วนงานค้างก็ยังคงมีอยู่ ครูเองก็พยายามกระตุ้นให้เขาเล่นน้องลงในช่วงของการทำงาน และพยายามหาเรื่องเล่าเกี่ยวกับข้อเสียของการทำงานแบบดินพอกหางหมูให้เขาได้ตระหนัก และชื่นชมคนที่ส่งงานครบ ไม่ทำให้ตนเองต้องเป็นคนที่มีนิสัยดินพอกหางหมู แล้วจะสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์ถัดไป

    ตอบลบ