เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้:
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

week1


เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 1 : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิงเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเอง และเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
1

14–15
..
2558
โจทย์ : สร้างฉันทะ/ตั้งชื่อหน่วย
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
Key  Questions :
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปิดเรียน มีอะไรบ้างที่นักเรียนประทับใจ?
- ใน
Quarter นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการชมสารคดี และรู้สึกอย่างไร?
- แล้วเราจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ PBL ของเราอย่างไรให้น่าสนใจ?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard  Share  ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
- Think  Pair Share ตั้งชื่อหน่วยใน Quarter ที่ 1
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานสรุป
การเรียนรู้รายสัปดาห์
- Round Rubin ตอบคำถามกิจกรรมในช่วงปิดเรียน
- Placemat สรุปความเข้าใจสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสารคดี
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู (ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้และกระตุ้นการคิดด้วยคลิปวีดีโอทั้ง เรื่อง)    - นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ มนุษย์กับพลังงาน
- คลิปวีดิโอ “พลังงานทดแทน”
พฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปิดเรียน มีอะไรบ้างที่นักเรียนประทับใจ?
- ใน Quarter นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?
-ครูเปิดคลิปสารคดี “มนุษย์กับพลังงาน”
เชื่อม :
นักเรียนดูคลิปสารคดีมนุษย์กับพลังงาน
 - นักเรียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนประทับใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและจากคลิป  สารคดีที่ได้ดู นักเรียนเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไรผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น  6 กลุ่ม
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปสารคดีมนุษย์กับพลังงาน ผ่านเครื่องมือ Placemat
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอ Placemat สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสารคดีมนุษย์กับพลังงาน
ศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเปิดคลิปเกี่ยวกับพลังงานทดแทนให้นักเรียนชม
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการชมสารคดี และรู้สึกอย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูได้เห็น จากนั้นนักเรียนศึกษาเกี่ยวกับพลังงานทดแทน
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปสารคดีพลังงานทดแทนลงบนกระดาษ A4
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ใน Quarter นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?” อีกครั้ง
เชื่อม :
นักเรียนช่วยกันเลือกเรื่องที่อยากจะเรียน ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard  Share 
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “แล้วเราจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ PBL ของเราอย่างไรให้น่าสนใจ?
เชื่อม :
นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือคิด Think  Pair Share
ใช้ :
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาจากการดูคลิปวีดีโอ

ชิ้นงาน
- Placemat  ความเข้าใจสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ (กลุ่ม)
- สรุปความเข้าใจจากคลิปลง A4 (บุคคล)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ความรู้
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำชาร์ตถ่ายทอดความเข้าใจได้อย่างสร้างสรรค์                                                                                           - สามารถเลือกใช้เครื่องมือ /อุปกรณ์ในการทำชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการคิด
- สามารถจัดหมวดหมู่ของหัวข้อสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- สามารถเชื่อมโยงความสอดคล้องของเนื้อหาเข้ากับกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากคลิปวีดีโอ
มนุษย์กับพลังงานได้
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
- สามารถรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 พฤษภาคม 2558 เวลา 16:23

    บันทึกหลังการสอน :
    ในช่วงเปิดเทอมในสัปดาห์แรก วัพฤหัสบดี ยังไม่มีการเรียนการสอน เพราะในวันนี้จะทำข้อตกลง คำชี้แจงต่างๆ ที่เราจะต้องเข้าใจและกระทำเป็นวิถีร่วมกัน
    ในวันศุกร์ ช่วงเข้า ในชั่วโมงของจิตศึกษา ครูพานักเรียนไปสำรวจบริเวณด้านข้างโรงเรียนฝั่งทิศเหนือ ที่เป็นฝั่งโรงสีข้าว คอกสัตว์ เพื่อพานักเรียนไปทำจิตศึกษาและไปสำรวจแหล่งพลังงานในโรงเรียน แล้วในคาบชั่วโมง PBL ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยสะท้อนในสิ่งต่างๆที่เขาสำรวจเห็นแล้วเชื่อมโยงกับพลังงานในชีวิตประจำวันอย่างไร? ซึ่งในช่วงแรกนักเรียนยังนึกภาพไม่ออก ครูเองจึงต้องชี้แจงและยกตัวอย่างให้นักเรียนเข้าใจและลงมือปฏิบัติ ในช่วงบ่ายครูเปิดคลิปวีดิโอไร้เสียง เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการสังเกตและเป็นผู้ฟังที่ดี หลังจากนั้นครูให้นักเรียนตั้งคำถามคนละอย่างน้อย 10 คำถามหลังจากชมคลิปจบลง และสรุปสุดท้ายด้วยการสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจสัปดาห์ที่ 1 ถ้าเป็นนักเรียนเก่าจะไม่มีปัญหาในการสรุป เพราะเขาเรียนรู้ตลอดการเข้าเรียนที่นี่ แต่สำหรับนักเรียนใหม่ 2 คน คือ พี่หยี กับ พี่เบ็ค ที่ยังไม่รู้วิถีและขั้นตอนในการสรุปรายสัปดาห์ ครูฝนจึงต้องแยกออกมาเพื่อให้การแนะนำวิธิการ ในที่สุดก็สามารถทำออกมาได้ และส่งชิ้นงานพร้อมเพื่อนคนอื่นๆตามเวลาที่กำหนด

    ตอบลบ